วัดพระบรมธาตุไชยาวรวิหาร

  ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
ชื่อสถานที่ : วัดพระบรมธาตุไชยาวรวิหาร
จังหวัด : จ.สุราษฎร์ธานี
ประเภท : วัด ศิลปะ วัฒนธรรม
ช่วงเวลาน่าเที่ยว :ตลอดทั้งปี
กิจกรรม : ไหว้พระขอพร
อื่นๆ : วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร 0 7743 1402, 0 7743 1090

                           ชื่อภาพ:วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร: วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                           ชื่อภาพ:วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร: วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระบรมธาตุไชยา ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ าเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองและเป็นหนึ่งในสามของโบราณสถานอันศักสิทธิ์ของภาคใต้ อันประกอบด้วยพระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชและพระพุทธไสยาสน์ถ้ำคูหาภิมุขจังหวัดยะลา องค์พระบรมธาตุเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียวที่ยังคงสภาพที่ดีที่สุด เข้าใจว่าสร้างในสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตรรษที่ 13-14 ไม่ปรากฏประวัติของผู้สร้าง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ 4 ทิศล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ทั้ง 4 ด้าน นับเป็นปูชนียสถานทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดพระบรมธาตุไชยาฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอไชยา จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ภาพของเจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด ในธงและผ้าพันคอลูกเสือ ซึ่งถือกันว่าหากนักท่องเที่ยวยังไม่ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุไชยาก็เหมือนยังไปไม่ถึงสุราษฎร์ธานีที่แท้จริง

ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมนั้น มีลักษณะเป็นเจดีย์องค์เดียวในปัจจุบันที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงย่อเก็จ ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันตกยาว 13 เมตรฐานนี้สร้างก่อนสมัยที่ พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสโส) จะบูรณะตั้งอยู่บนผิวดินซึ่งมีระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบัน ทางวัดได้ขุด บริเวณโดยรอบฐานเป็นเสมือนสระกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 60-70 เซนติเมตรเพื่อให้ฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปี บางปีในหน้าแล้งรอบๆฐานเจดีย์พระบรมธาตุ จะแห้ง มีตาน้ำผุดขึ้นมาซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถแก้โรคภัยต่างๆ ได้ ต่อมาทางวัด ได้ใช้ปูนซีเมนต์ปิดตาน้ำเสีย

โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อมุขด้านหน้าหรือมุขด้านตะวันออกเปิด มีบันไดขึ้นสำหรับให้ประชาชนเข้าไปนมัสการพระพุทธรูป ภายในเจดีย์เมื่อเข้าไปภายใน จะเห็นองค์พระเจดีย์หลวง เห็นผนังก่ออิฐแบบไม่สอปูนลดหลั่นกันขึ้นไปถึงยอดมุขอีกสามด้าน ทึบทั้งหมดที่มุมฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศหรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่ด้วย หลังคาทำเป็น 3 ชั้นลดหลั่น กันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับรูปวงโค้งขนาดเล็กและสถูปจำลองรวม 24 องค์เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอด ซึ่งได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 5 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆัง ทำให้เห็นลวดลายละเอียดเสียหายมากรวมทั้งฐานเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินได้ขุดดินโดยรอบฐาน พระเจดีย์และทำลายรากไม้ในบริเวณนั้นแล้ว ก่ออิฐถือปูนตลอดเพื่อให้เห็นฐานเดิมของเจดีย์

อีกทั้งลวดลายประดับเจดีย์ได้มีการสร้างเพิ่มเติมใหม่ด้วยปูนปั้นเกือบทั้งหมด เป็นลายปั้นใหม่ตามความคิดของผู้บูรณะ มิได้อาศัยหลักทางโบราณคดีรวมถึงลานระหว่างเจดีย์และพระระเบียง เปลี่ยนจากอิฐหน้าวัวเป็นกระเบื้องซีเมนต์จนถึงในรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ.2521-2522 ได้รับการ บูรณะปฎิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งโดยการบูรณะในครั้งนี้เป็นการซ่อมแซมของเก่าที่มีอยู่เดิมให้คง สภาพดีเพื่อไว้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของชาติสืบต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น