สุราษฏร์ธานี

    สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศอีกจังหวัดหนึ่ง เพราะมีธรรมชาติอันสวยงาม ทั้งหมู่เกาะต่างๆ เช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะนางยวน หมู่เกาะอ่างทอง และมีพื้นที่ป่าดิบชื้นบนบกที่อุดมด้วยพืชพรรณอันหลากหลาย สายน้ำมากมาย และสัตว์ป่านานาชนิดสุราษฎร์ธานียังเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบครบครัน มีการคมนาคมที่สะดวกทั้งทางรถ รถไฟ เรือ และเป็นที่ตั้งของสนามบินถึง 2 แห่ง ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี จนปัจจุบันได้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวของชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนใต้ ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติหลั่งไหลไปเยี่ยมเยือนปีละหลายล้านคน

   จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีเนื้อที่ประมาณ 12,891 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,056,875 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ และมีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคใต้ สภาพภูมิประเทศมีความหลากหลายตั้งแต่เกาะขนาดต่างๆ ในทะเลอ่าวไทย ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบชายฝั่งทะเล และที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำตาปีและแม่น้ำไชยา มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 156 กิโลเมตรสุราษฎร์ธานีเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีชนพื้นเมืองเป็นพวกเซมังและชาวมลายูดั้งเดิม ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) และบริเวณอ่าวบ้านดอน และจากการค้นพบร่องรอยของอารยธรรมศรีวิชัยในเขตอำเภอไชยา และพบร่องรอยของเมืองเก่าอีกหลายแห่งบริเวณรอบอ่าวบ้านดอน เช่น เมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองท่าทอง เมืองพุนพิน และเมืองเวียงสระ จึงสันนิฐานว่าเมืองไชยาเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรศรีวิชัยในอดีตเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง เมืองในแถบนี้ได้แยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช ตรงกับช่วงเวลาที่อาณาจักรสุโขทัยทางเหนือกำลังเจริญรุ่งเรือง และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ไปถึงแหลมมลายู เมืองไชยาจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมาต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมืองนครศรีธรรมราชอ่อนแอลง ในขณะที่บ้านดอนมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน และยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า “กาญจนดิษฐ์” ครั้นเมื่อมีการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกาญจนดิษฐ์ (บ้านดอน) เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองไชยา เข้าเป็น “อำเภอเมืองไชยา” ต่อมาได้มีการกำหนดให้เรียกอำเภออันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดว่า “อำเภอเมือง” บ้านดอนซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในขณะนั้น จึงเปลี่ยนเป็น “อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี” แปลว่าเมืองแห่งคนดี ตามชื่อจังหวัดที่ได้รับพระราชทาน ส่วนอำเภอเมืองไชยาก็ถูกตัดคำว่า “เมือง” ออกเหลือเพียง “อำเภอไชยา” เป็นอำเภอหนึ่งของสุราษฎร์ธานีมาจนทุกวันนี้ปัจจุบันจังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิยม อำเภอพนม อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย อำเภอดอนสัก อำเภอไชยา อำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านตาขุน อำเภอเกาะพะงัน อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอชัยบุรี และกิ่งอำเภอวิภาวดี

พิพิธเมืองคนดี

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว พิพิธเมืองคนดี
ชื่อสถานที่ : พิพิธเมืองคนดี
จังหวัด : จ.สุราษฎร์ธานี
ประเภท : ศูนย์การเรียนรู้
ช่วงเวลาน่าเที่ยว : ตลอดทั้งปี
กิจกรรม : ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี




  ศูนย์การเรียนรู้ “พิพิธเมืองคนดี” เป็นอาคารแสดงเรื่องราวความเป็นมาและเหตุการณ์ต่างๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาทิ เหตุการณ์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเยือนจังหวัดสุราษฎร์ธานี อดีตเมืองท่าข้าม ประวัติศาสตร์สะพานจุลจอมเกล้า เรื่องราวท่านพุทธทาส ภิกขุ ปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ รวมถึงสวนโมกขพลาราม ฯลฯ

ภายในอาคารจะนำเสนอในรูปแบบภาพบนฝาผนัง นำเสนอในลักษณะหนังสืออิเล็กโทรนิค ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ที่เยี่ยมชมทุกเพศ ทุกวัย ได้แบ่งพื้นที่จัดแสดงเป็นส่วนๆคือ ส่วนแรก เป็นการแสดงเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ ในการเสด็จเยือนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งล้นเกล้าทั้งสองได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวสุราษฎร์ธานีถึง 15 ครั้งด้วยกัน

ถัดไปจะเป็นส่วนแสดงเรื่องราวของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เล่าเรื่องตั้งแต่การปรากฏหลักฐานของการตั้งเมืองโบราณในดินแดนแถบนี้ ซึ่งก็มีเมืองเวียงสระ เมืองท่าทอง เมืองท่าขนอน เมืองพุนพิน และเมืองไชยา เล่าถึงความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรสยามตั้งแต่ครั้ง กรุงศรีอยุธยาถึงกรุงธนบุรี วิวัฒนาการของการจัดการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ยุคต้นจนถึงปัจจุบัน

บันทึกสำคัญอย่างยิ่งที่ชาวสุราษฎร์ธานีทุกคนควรเข้ามาเรียนรู้ คือเหตุการณ์การเสด็จประพาสเกาะสมุย เกาะพงัน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเหตุการณ์การเสด็จมาประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานนามจังหวัดนี้ว่า “สุราษฎร์ธานี” และตั้งชื่อแม่น้ำหลวงให้ใหม่ว่า “แม่น้ำตาปี”

พระบรมธาตุไชยา โบราณสถานสำคัญที่เป็นหลักฐานของความเจริญรุ่งเรือง ของอารยธรรมศรีวิชัยที่ปรากฏในดินแดนแถบนี้ และยังเป็นร่องรอยที่บอกเล่าถึงความเก่าแก่ของเมืองไชยา ที่ชาวไชยาได้ตั้งหลักปักฐานอยู่ที่นี่มาแล้วเป็นพันปี โดยเฉพาะในเขตสันทรายไชยาอันเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณไชยา ที่ยังมีหลักฐานอื่นๆอีกเช่นโบราณสถานวัดแก้ว วัดหลง และที่วัดเวียง

บ้านพุมเรียง

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว บ้านพุมเรียง
ชื่อสถานที่ : บ้านพุมเรียง
จังหวัด : จ.สุราษฎร์ธานี
ประเภท : หมู่บ้านท้องถิ่น
ช่วงเวลาน่าเที่ยว : ตลอดทั้งปี
กิจกรรม : เที่ยวชมวิถีชีวิต ซื้อผ้าไหมพุมเรียง
อื่นๆ : สามารถขอเข้าชมกระบวนการทอผ้าไหมพุมเรียงได้




 พุมเรียง ชุมชนเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ ตั้งอยู่ริมคลองพุมเรียงซึ่งไหลลงทะเลที่แหลมโพธิ์ แหล่งจอดเรือสินค้า ในเส้นทางการค้าข้ามสมุทรตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือสินค้าจากจีนไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง หรือเป็นที่รู้จักกันในนามเส้นทางสายแพรไหมทางทะเล จากการสำรวจทางโบราณคดีเมื่อครั้ง พ.ศ.2524 พบซากเรือบริเวณแหลมโพธิ์ เป็นสิ่งยืนยันถึงการเป็นที่จอดเรือของชาติต่าง ๆ และจากการขุดหลุมสำรวจเพื่อสุ่มตัวอย่าง พบหลักฐานที่ชี้ว่าแหลมโพธิ์เป็นเมืองท่าทางพาณิชย์นาวีที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18  และและคงสืบเนื่องถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วย

กิจกรรมที่น่าสนใจในบ้านพุมเรียง
-ชมการทอผ้าไหมพุมเรียง
-เลือกซื้อหาผ้าไหมลายสวยจากพุมเรีย
สิ่งน่าสนใจอื่นๆในบ้านพุมเรียง
-โรงทอผ้า
-บ้านเก่าของท่านพุทธทาส
-ชายทะเลแหลมโพธิ์


เกาะพะงัน

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว เกาะพะงัน
ชื่อสถานที่ : เกาะพะงัน
จังหวัด : จ.สุราษฎร์ธานี
ประเภท : ทะเล เกาะ
ช่วงเวลาน่าเที่ยว :ตลอดทั้งปี
กิจกรรม : พักผ่อนริมชายหาด กิจกรรมทางทะเล นั่งเรือชมหมู่เกาะอ่างทอง เกาะเต่า เกาะนางยวน
อื่นๆ : มีเรือเฟอร์รี่ตรงจากอำเภอดอนสักใช้เวลาเดินทางประมาณสองชั่วโมงครึ่ง หรือจะนั่งจากท่าเรือเกาะสมุยไปก็ได้

                                  

                                 


 เกาะพะงัน เกาะอันมีชื่อเสียงอยู่ทางเหนือของเกาะสมุยประมาณ 30กม.เป็นเกาะแห่งความภาคภูมิใจของชาวสุราษฎร์ธานีที่ได้ถวายการต้อนรับพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึง 4 พระองค์ นับจากรัชกาลที่ 5จนถึงรัชกาลปัจจุบัน เกาะพะงันแหล่งท่องเที่ยวกลางทะเลแห่งหนึ่งซึ่งนักเดินทางวางเป้าหมายไว้ว่าจะต้องไปให้ถึง ในบรรยากาศการพักผ่อนที่ค่อนข้างสงบ ความเขียวขจีของพืชพรรณความร่มรื่นของทิวไม้ริมชายหาด ความขาวของหาดทรายและความใสของน้ำทะเลเป็นเสน่ห์ที่ชวนหลงใหลของเกาะพะงัน บนเกาะพะงันมีที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่งเช่นน้ำตกธารเสด็จ เป็นน้ำตกที่รัชกาลที่5 ได้พระราชทานนามไว้ และเสด็จประพาสถึง 14 ครั้งสามารถไปได้ทั้งทางเรือและทางรถน้ำตกแพง เป็นน้ำตกที่สวยงามมีหลายชั้นเช่น แพงน้อย ธารน้ำรัก ธารกล้วยไม้มีน้ำตลอดทั้งปีแสดงถึงความสมบูรณ์ของผืนป่า มีทางเดินป่าไปยังโดมศิลาซึ่งเป็นจุดชมวิวและชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม ท้องศาลาคือชุมชนใหญ่ที่สุดของเกาะพะงัน เป็นศูนย์ธุรกิจการท่องเที่ยวและศูนย์การเดินทาง มีทั้งท่าเรือ บริษัทเรือ เรือและรถให้เช่า ร้านอาหาร ที่พัก และบริการแทบทุกชนิด


กิจกรรมที่น่าสนใจในเกาะพะงัน

-ประเพณีชักพระทางทะเล

ถ้ำขมิ้น

 ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ถ้ำขมิ้น
ชื่อสถานที่ : ถ้ำขมิ้น
จังหวัด : จ.สุราษฎร์ธานี
ช่วงเวลาน่าเที่ยว :ตลอดทั้งปี
กิจกรรม : ชมความงดงามภายในถ้ำ
อื่นๆ : หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น ที่ รย. 5 (ถ้ำขมิ้น) โทร.0 7734 4633




 ถ้ำขมิ้น ก่อนหน้านี้เคยเป็นถ้ำสัมปทานเก็บมูลค้างคาว จะเห็นได้จากการพบร่องรอยและอุปกรณ์ต่างๆที่ยังหลงเหลืออยู่ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง เป็นถ้ำใหญ่โตมโหฬารที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม และเป็นที่ศึกษาวิจัยทางด้านโบราณคดี ศาสนา ธรณีวิทยาและสัตววิทยา ถ้ำขมิ้น เป็นถ้ำประเภท solution cave ที่เกิดในภูเขาหินคาร์บอเนตและซัลเฟตโดยเกิดจากน้ำฝนและน้ำใต้ดินที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมกับไอออนของน้ำทำปฏิกริยากันกลายเป็นกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อนไหลผ่านตามรอยแตกของชั้นหินที่อยู่ใต้ดิน โดยจะละลายหินที่มีส่วนประกอบของแร่แคลไซต์หรือแคลเซี่ยมคาร์บอเนตให้เป็นรอยแตกหรือรูโพรงกว้างซึ่งเมื่อวันเวลาผ่านไปรอยแตกก็จะกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นถ้ำในที่สุด

กิจกรรมที่น่าสนใจในถ้ำขมิ้น

-เที่ยวชมความงดงามตระการตา ของธรรมชาติภายในถ้ำ

คำแนะนำในการท่องเที่ยว
ข้อปฏิบัติในการเที่ยวชมถ้ำขมิ้น
-ไม่แตะต้องกลุ่มหินต่างๆภายในถ้ำ เพราะเหงื่อและไขมันจากตัวเราจะทำปฏิกริยากับหินเหล่านี้ จนทำให้มันหยุดการเติบโต หรือเรียกว่า"หินตาย"
-ไม่ขีดเขียน ตี เคาะหิน ก่อไฟ จุดประทัด จุดธูปเทียน สูบบุหรี่ เก็บหรือนำสิ่งของใดๆออกจากถ้ำ
-ไม่ส่งเสียงดังรบกวนสัตว์ที่อาศัยอยู่ในถ้ำ
-ไม่ขับถ่าย ไม่ว่าจะหนัก หรือเบา ภายในถ้ำ
-ไม่ทิ้งขยะ หรือนำอาหารเข้าไปในถ้ำ
-ไม่เดินออกนอกเส้นทางที่กำหนด

สวนโมกขพลาราม

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว สวนโมกขพลาราม
ชื่อสถานที่ : สวนโมกขพลาราม
จังหวัด : จ.สุราษฎร์ธานี
ประเภท : วัด ศิลปะ วัฒนธรรม
ช่วงเวลาน่าเที่ยว :ตลอดทั้งปี
กิจกรรม : ไหว้พระขอพร พักผ่อนจิตใจ
อื่นๆ : ท่านที่สนใจเข้ารับการฝึกสมาธิ หรือกิจกรรมทางศาสนาอื่นๆ ติดต่อรายละเอียดได้ที่โทร.0 7743 1552,0 7743 1597 

                                   ชื่อภาพ:พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์: สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                           ชื่อภาพ:ลานหินโค้ง: สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สวนโมกขพลาราม สถานศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งในพุทธศาสนจักร กำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2502 โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ภิกษุผู้ประกาศตนขอเป็นทาสแห่งพุทธองค์ ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกและทดลองปฏิบัติอย่างแน่วแน่จนก่อเกิดปัญญารู้แจ้งในพระธรรมคำสอนกระทั่งแยกแยะได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไรและหัวใจของคำสอนคืออะไรท่านพุทธทาสได้ใช้ความรู้ความเข้าใจที่ได้ สร้างสรรค์เป็นคำสอนที่เข้าใจง่ายๆถ่ายทอดแก่พุทธศาสนิกชนทั้งยังเผยแพร่เป็นภาษาต่างๆและได้รับการยอมรับกันทั่วโลก
ภายในสวนโมกข์มีการจัดภูมิสถาปัติที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ สถาปัตยกรรม ปฏิมากรรม จิตรกรรมและวรรณกรรมทั้งหมดสอดรับกลมกลืนกับธรรมชาติ และแสดงพุทธธรรมที่ลึกซึ้งแต่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ

คำแนะนำในการท่องเที่ยว
-สวนโมกขพลาราม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหาความรู้ทางศาสนาสามารถเข้าชมอย่างทั่วถึงภายในวันเดียวควรมาถึงที่นี้ในเวลาเช้าเพื่อจะได้มีเวลาพอต่อการเข้าชม
-ท่านที่สนใจเข้ารับการฝึกสมาธิ หรือกิจกรรมทางศาสนาอื่นๆ ติดต่อรายละเอียดได้ที่โทร.0 7743 1552,0 7743 159
โปรแกรมการฝึกนั่งสมาธิและศึกษาธรรมะที่สวนโมกขพลาราม มีการสอนฝึกสมาธิแก่ชาวต่างประเทศทุกวันที่ 1-10 ของเดือน และสำหรับคนไทยทุกวันที่ 20–27 ของเดือน ตั้งแต่เวลา 8.30–17.00 น.

วัดพระบรมธาตุไชยาวรวิหาร

  ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
ชื่อสถานที่ : วัดพระบรมธาตุไชยาวรวิหาร
จังหวัด : จ.สุราษฎร์ธานี
ประเภท : วัด ศิลปะ วัฒนธรรม
ช่วงเวลาน่าเที่ยว :ตลอดทั้งปี
กิจกรรม : ไหว้พระขอพร
อื่นๆ : วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร 0 7743 1402, 0 7743 1090

                           ชื่อภาพ:วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร: วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                           ชื่อภาพ:วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร: วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระบรมธาตุไชยา ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ าเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองและเป็นหนึ่งในสามของโบราณสถานอันศักสิทธิ์ของภาคใต้ อันประกอบด้วยพระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชและพระพุทธไสยาสน์ถ้ำคูหาภิมุขจังหวัดยะลา องค์พระบรมธาตุเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียวที่ยังคงสภาพที่ดีที่สุด เข้าใจว่าสร้างในสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตรรษที่ 13-14 ไม่ปรากฏประวัติของผู้สร้าง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ 4 ทิศล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ทั้ง 4 ด้าน นับเป็นปูชนียสถานทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดพระบรมธาตุไชยาฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอไชยา จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ภาพของเจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด ในธงและผ้าพันคอลูกเสือ ซึ่งถือกันว่าหากนักท่องเที่ยวยังไม่ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุไชยาก็เหมือนยังไปไม่ถึงสุราษฎร์ธานีที่แท้จริง

ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมนั้น มีลักษณะเป็นเจดีย์องค์เดียวในปัจจุบันที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงย่อเก็จ ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันตกยาว 13 เมตรฐานนี้สร้างก่อนสมัยที่ พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสโส) จะบูรณะตั้งอยู่บนผิวดินซึ่งมีระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบัน ทางวัดได้ขุด บริเวณโดยรอบฐานเป็นเสมือนสระกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 60-70 เซนติเมตรเพื่อให้ฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปี บางปีในหน้าแล้งรอบๆฐานเจดีย์พระบรมธาตุ จะแห้ง มีตาน้ำผุดขึ้นมาซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถแก้โรคภัยต่างๆ ได้ ต่อมาทางวัด ได้ใช้ปูนซีเมนต์ปิดตาน้ำเสีย

โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อมุขด้านหน้าหรือมุขด้านตะวันออกเปิด มีบันไดขึ้นสำหรับให้ประชาชนเข้าไปนมัสการพระพุทธรูป ภายในเจดีย์เมื่อเข้าไปภายใน จะเห็นองค์พระเจดีย์หลวง เห็นผนังก่ออิฐแบบไม่สอปูนลดหลั่นกันขึ้นไปถึงยอดมุขอีกสามด้าน ทึบทั้งหมดที่มุมฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศหรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่ด้วย หลังคาทำเป็น 3 ชั้นลดหลั่น กันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับรูปวงโค้งขนาดเล็กและสถูปจำลองรวม 24 องค์เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอด ซึ่งได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 5 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆัง ทำให้เห็นลวดลายละเอียดเสียหายมากรวมทั้งฐานเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินได้ขุดดินโดยรอบฐาน พระเจดีย์และทำลายรากไม้ในบริเวณนั้นแล้ว ก่ออิฐถือปูนตลอดเพื่อให้เห็นฐานเดิมของเจดีย์

อีกทั้งลวดลายประดับเจดีย์ได้มีการสร้างเพิ่มเติมใหม่ด้วยปูนปั้นเกือบทั้งหมด เป็นลายปั้นใหม่ตามความคิดของผู้บูรณะ มิได้อาศัยหลักทางโบราณคดีรวมถึงลานระหว่างเจดีย์และพระระเบียง เปลี่ยนจากอิฐหน้าวัวเป็นกระเบื้องซีเมนต์จนถึงในรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ.2521-2522 ได้รับการ บูรณะปฎิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งโดยการบูรณะในครั้งนี้เป็นการซ่อมแซมของเก่าที่มีอยู่เดิมให้คง สภาพดีเพื่อไว้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของชาติสืบต่อไป